Saturday, December 12, 2009

พัดยศเปรียญ ๙ ประโยค





ประวัติการศึกษาบาลี

การศึกษาภาษาบาลีเป็นของโบราณสืบเนื่องมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้จึงได้จัดลำดับชั้นเป็นประโยค เรียกว่า ประโยค ๑-๒ ประโยค จนถึงประโยค ๙ เป็นที่สุด เฉพาะผู้ที่สอบได้ประโยค ๑ และ ๒ ยังไม่มีสิทธได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ และยังไม่เรียกว่าพระมหา ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่ประโยค ๓ ขึ้นไปจึงมีสิทธิได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ และเมื่อได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญแล้ว จึงมีสิทธิที่จะใช้คำนำหน้าว่าพระมหา โดยถือว่าได้รับการทรงแต่งตั้ง

เฉพาะเปรียญ ๙ สอบวิชาอะไรบ้าง

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๙ ทางการคณะสงฆ์ได้กำหนดวิธีการสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยค จากเดิมที่สอบปากเปล่ามาเป็นสอบแบบข้อเขียน และเพิ่มเป็น ๓ วิชาคือ

-วิชาเขียนไทยเป็นมคธ ออกข้อสอบเป็นภาษาไทยล้วน สุดแต่กรรมการจะกำหนดให้ นักเรียนเขียนตอบเป็นภาษามคธ
-วิชาแปลไทยเป็นมคธ ข้อสอบแปลมาจากภาษามคธเป็นไทย ให้ตอบเป็นภาษามคธ
-วิชาแปลมคธเป็นไทย ออกข้อสอบเป็นภาษามคธ ให้ตอบเป็นภาษาไทย

ทั้งสามวิชานี้ยังคงใช้อยู่ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

รับพัดยศเปรียญ ณ ที่ใด

ในสมัยการสอบด้วยข้อเขียนระยะต้นๆ ผู้ที่สอบได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคถึง ๙ ประโยค ยังคงเข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดยศเปรียญ และไตรจีวร ในพระบรมมหาราชวัง โดยกำหนดวันที่ ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ หรือก่อนวันวิสาขบูชา ๑ วัน เป็นประจำทุกปี เรียกว่า วันทรงตั้งพระเปรียญ พระภิกษุที่สอบได้ประโยค ป.ธ. ๓ แล้ว ถ้ายังไม่ผ่านพ้นวันทรงตั้งพระเปรียญ จะใช้คำนำหน้าชื่อตัวเองว่า พระมหา ยังไม่ได้

เปรียญใดบ้างที่เข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดยศเปรียญและไตรจีวร

นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เนื่องจากมีพระภิกษุสามเณรเข้ารับการศึกษาและสอบได้มาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมอบหมายพระราชภาระการทรงตั้งเปรียญถวายสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ให้ดำเนินการแทนพระองค์ ยกเว้นเฉพาะผู้ที่สอบได้ ป.ธ. ๖ และ ป.ธ. ๙ ยังคงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรและปริญญาบัตร พัดยศและไตรจีวร ในพระบรมมหาราชวังดังเดิม และยังคงอุปถัมภ์ให้รถหลวงนำส่งเฉพาะผู้ที่สอบได้ ป.ธ.๙ มาจนถึงทุกวันนี้

นาคหลวงสายเปรียญธรรมคืออะไร

สามเณรรูปใดสอบได้ ป.ธ ๙ ขณะยังเป็นสามเณร อายุไม่เกิน ๒๑ ปี พระเจ้าอยู่หัวทรงรับสามเณรรูปนั้นไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เข้าอุปสมบทเป็นนาคหลวงเป็นกรณีพิเศษเรียกว่า นาคหลวงสายเปรียญธรรม

พระมหาสงวน ฉายา ปญฺญาสิริ นามสกุล หงษ์หิรัญ



๘.พระมหาสงวน
ฉายา ปญฺญาสิริ
นามสกุล หงษ์หิรัญ
อายุ ๓๘
พรรษา ๑๘
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๔๒

ชาติภูมิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การศึกษาอื่นๆ
-พุทธศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ตำแหน่ง
-เลขา เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วัดคลองวาฬ จังหวัดประจวบฯ

สมณศักดิ์
พระศรีปริยัติเมธี

ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๒)
-เลขา เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระมหาธีรพล ฉายา ธีรญฺญู นามสกุล สุขแสง



๗.พระมหาธีรพล
ฉายา ธีรญฺญู
นามสกุล สุขแสง
อายุ ๒๓
พรรษา ๒
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๔๑
ชาติภูมิ จังหวัดยโสธร
การศึกษาอื่นๆ
-ศาสนศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
-รัฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
-รัฐประศาสนศาตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
-ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ลาสิกขา
-รับราชการที่ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
-ย้ายไปรับราชการที่ กองอนุศาสนาจารย์ กองทัพอากาศ
ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๒)
-ยศเรืออากาศตรี

พระมหาบุญธรรม ฉายา สุตธมฺโม นามสกุล บุญมี



๖. พระมหาบุญธรรม
ฉายา สุตธมฺโม
นามสกุล บุญมี
อายุ ๕๓
พรรษา ๓๓
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๔๑

ชาติภูมิ จังหวัดลพบุรี

ตำแหน่ง
-เจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราม

สมณศักดิ์ล่าสุด
-พระราชสุตกวี

ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๒)
-เจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราม

พระมหาโกสิทธิ ฉายา สุจิตฺโต นามสกุล บุญเลิศรพ



๕.พระมหาโกสิทธิ
ฉายา สุจิตฺโต
นามสกุล บุญเลิศรพ
อายุ ๕๓
พรรษา ๓๓
ปีที่สอบได้ พ.ศ. ๒๕๑๙

ชาติภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ตำแหน่ง
-เจ้าอาวาสวัดมหรรณพาราม
-เจ้าคณะเขตพระนคร

สมณศักดิ์ล่าสุด
-พระเทพปริยัติเวที

ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๒)
-มรณภาพ(เมื่อ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๗)

พระมหาสวาท ฉายา สุทฺธจิตฺโต นามสกุล เหล่าอุด


๔.พระมหาสวาท
ฉายา สุทฺธจิตฺโต
นามสกุล เหล่าอุด
อายุ ๒๗
พรรษา ๗
ปีที่สอบได้ พ.ศ.๒๕๑๗

ชาติภูมิ อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

การศึกอื่นๆ
พ.ม.(ประกานียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม)
B.A.
M.A.(First Class)


ลาสิกขา
รับราชการ หอสมุดแห่งชาติ
-ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาโบราณ
-ตำแหน่งสุดท้าย นักอักษรศาสตร์ ๙ ชช.
-ผู้ตรวจราชการ กรมศิลปากร

ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๒)
-เกษียณอายุราชการ
-ปลีกวิเวกอยู่ที่บ้านภูมิลำเนา อำเภอมัญจาคีรี
จังหวัดขอนแก่น

พระมหาทองใบ ฉายา ธีรานันโท นามสกุล หงษ์เวียงจันทร์



๓.พระมหาทองใบ
ฉายา ธีรานันโท
นามสกุล หงษ์เวียงจันทร์
อายุ ๒๔
พรรษา ๔
ปีที่สอบได้ พ.ศ. ๒๕๑๖

ชาติภูมิ จังหวัดนครสวรรค์

การศึกษาอื่นๆ
-พุทธศาสตรบัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับสอง) จาก มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)
-ประกาศนียบัตรประโยคครูพิเศษมัธยม(พ.ม.) จาก กระทรวงศึกษาธิการ
-M.A.Political Science จาก Panjab University ประเทศอินเดีย
-M.PHIL. International Relations จาก London School of Economics and Political Science, University of London ประเทศอังกฤษ

ลาสิกขา
เปลี่ยนนามสกุลเป็น ธีรานันทางกูร

รับราชการ
-เป็นนายทหารข่าว ประจำแผนกผลิตข่าว กองข่าว กรมข่าวทหารเรือ
-เป็นอาจารย์ประจำ กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
-มีตำแหน่งทางวิชาการ เป็นรองศาสตราจารย์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
-ยศล่าสุด พลเรือตรี

ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๒)
-เป็นที่ปรึกษาพิเศษ กองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ฝ่ายศึกษา โรงเรียนนายเรือ
-เกษียณอายุราชการ
-อาจารย์พิเศษบรรยายวิชาศาสนศึกษา(Religious Studies) และ รัฐศาสตร์เบื้องต้น(Introduction to Political Science) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดโกเมศรัตนาราม ต.เชียงรากน้อย อ.สามโคก จ. ปทุมธานี

-ที่อยู่ 5/323 หมู่บ้านประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 ซอย 22
ถนนสามัคคี ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
เบอร์โทรศัพท์บ้าน 02 574-4033
มือถือ 089 238-0491

Google